วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

มารู้จักกับ คำพ้องรูป พ้องเสียงกันค่ะ


คำพ้อง คือ คำที่เขียนรูปหรือออกเสียงตรงกัน แต่ความหมายต่างกัน
คำพ้อง แบ่งเป็น ๓ ชนิด ดังนี้
๑. คำพ้องรูป
คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียงต่างกัน และมีความหมายต่างกัน การอ่านคำพ้องรูปให้ถูกต้องควรดูข้อความอื่นๆ ประกอบด้วยว่าคำพ้องรูปนั้น หมายถึงอะไร เเล้วจึงอ่านให้ถูก
ตัวอย่าง คำพ้องรูป
ครุ อ่านว่า คฺรุ หมายถึง ภาชนะสานชนิดหนึ่ง
             คะ-รุ หมายถึง ครู, หนึ่ง
ปรามาส อ่านว่า ปฺรา-มาด หมายถึง ดูถูก
                    ปะ-รา-มาด อ่านว่า การจับต้อง การลูบคลำ
พยาธิ อ่านว่า พะ-ยา-ธิ หมายถึง ความเจ็บไข้
                 พะ-ยาด หมายถึง ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง
เพลา อ่านว่า เพลา หมายถึง แกน, ดุมล้อ, เบาลง
                เพ-ลา หมายถึง เวลา
สระ อ่านว่า สะ หมายถึง แอ่งน้ำขนาดใหญ่, ชำระล้าง
              สะ-หระ หมายถึง อักษรแทนเสียงสระ
๒. คำพ้องเสียง คำพ้องเสียง คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และมีความหมายต่างกัน
ตัวอย่าง คำพ้องเสียง
        เขี้ยวงู  เคี่ยวน้ำแกง  อ่านว่า เขี้ยว
        ซ่อมเเซม ช้อนส้อม  อ่านว่า  ส้อม
        คุณค่า ถูกฆ่า ข้าทาส  อ่านว่า  ค่า
        สัตว์เลี้ยง ซื่อสัตว์ อ่านว่า สัด

๓. คำพ้องทั้งรูปและเสียง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำหลายความหมาย ซึ่งหมายถึง คำที่มีรูปเหมือนกัน อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน เเต่มีความหมายหลายอย่างเเล้วเเต่จะนำไปใช้
ตัวอย่าง คำพ้องทั้งรูปและเสียง
         คำว่า "ขัน" อ่านว่า ขัน หมายถึง   ๑. ภาชนะสำหรับตักหรือใส่น้ำ
                                                             ๒. ทำให้ตึงหรือเเน่นด้วยวิธีหมุนเข้าใป เช่น ขันนอต
                                                             ๓. อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่
                                                             ๔. หัวเราะ รู้สึกตลก
         คำว่า "แกะ" อ่านว่า แกะ หมายถึง  ๑. ชื่อสัตว์ ๔ เท้า ประเภทหนึ่ง
                                                                 ๒. เอาเล็บมือค่อยๆ แกะ เพื่อให้หลุดออก
         คำว่า "เงาะ" อ่านว่า "เงาะ" หมายถึง  ๑. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก
                                                                    ๒. ชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง

ลักษณะคำไทยแท้


ลักษณะคำไทยแท้


๑.คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว ไม่ว่าจะเป็นคำนาม สรรพนาม วิเศษณ์ บุพบท สันธาน อุทาน ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าภาษาคำโดด เช่น ลุง ป้า น้า อา กา ไก่ ฯลฯ มีคำไทยแท้หลายคำที่มีหลายพยางค์ เช่น มะม่วง สะใภ้ ตะวัน กระโดด มะพร้าว ทั้งนี้เพราะสาเหตุที่เกิดจาก
๑.๑ การกร่อนเสียง คำ ๒ พยางค์เมื่อพูดเร็วๆ เข้า คำแรกจะกร่อนลง เช่น
มะม่วง – หมากม่วง
ตะคร้อ – ต้นคร้อ
สะดือ – สายดือ
มะตูม – หมากตูม
๑.๒ การแทรกเสียง คือคำ ๒ พยางค์เรียงกันแล้วมีเสียงแทรกตรงกลาง เช่น
ลูกกระดุม – ลูกดุม
ผักกระถิน – ผักถิน
นกกระจอก – นกจอก
ลูกกระเดือก – ลูกเดือก
๑.๓ การเติมพยางค์หน้าคำมูลโดยเติมคำให้มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น
จุ๋มจิ๋ม – กระจุ๋มกระจิ๋ม
เดี๋ยว – ประเดี๋ยว
ท้วง – ประท้วง
ทำ – กระทำ
         ๒. คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ ไม่นิยมคำควบกล้ำแต่มีเสียงควบกล้ำอยู่บ้างเป็นการควบกล้ำด้วย ร,ล,ว และมีตัวสะกดตรงตามมาตรา เช่น เชย สาว จิก กัด ฯลฯ
         ๓. คำไทยแท้มีวรรณยุกต์ทั้งมีรูปและไม่มีรูป เพื่อแสดงความหมาย เช่น ฉันอ่านข่าวเรื่องข้าว
         ๔. การเรียงคำในภาษาไทยสับที่กันทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น
        ใจน้อย – น้อยใจ
        กลัวไม่จริง – จริงไม่กลัว
        ๕. คำไทยจะใช้รูป “ไอ” กับ “ใอ” จะไม่ใช้รูป “อัย” เลย และจะไม่พบพยัญชนะต่อ ไปนี้ ฆ ณ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬ ยกเว้นคำบางคำที่เป็นคำไทย คือ ฆ่า เฆี่ยน ศึก ศอก เศิก เศร้า ธ ณ ฯพณฯ ใหญ่ หญ้า เป็นต้น
        คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกด มาตราตัวสะกดมี 8 มาตรา คำไทยจะสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดและไม่มีการันต์ เช่น
มาตราแม่กก ใช้ ก สะกด เช่น มาก จาก นก จิก รัก
มาตราแม่กด ใช้ ด สะกด เช่น กัด ตัด ลด ปิด พูด
มาตราแม่กบ ใช้ บ สะกด เช่น จับ จบ รับ พบ ลอบ
มาตราแม่กน ใช้ น สะกด เช่น ขึ้น อ้วน รุ่น นอน กิน
มาตราแม่กง ใช้ ง สะกด เช่น ลง ล่าง อ่าง จง พุ่ง แรง
มาตราแม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลาม ริม เรียม ซ้อม ยอม
มาตราแม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น ยาย โรย เลย รวย เฉย
มาตราแม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น ดาว เคียว ข้าว เรียว เร็ว
        คำที่มีมาตราตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด จะเป็นคำที่เป็นภาษาอื่นที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย


ลักษณะของคำไทยแท้

1. ส่วนมากมีพยางค์เดียว เข้าใจความหมายได้ทันที เช่น พ่อ แม่ ฉัน เธอ พูด เล่น ดี สวย เมื่อ กับ และ หรือ โธ่ ฯลฯ ถ้ามีคำมากพยางค์มักเกิดจากการสร้างคำ ดังนี้ 
2. มีตัวสะกดตรงตามมาตรา คือ แม่ กง กน กม เกย เกอว กก กด กบ 
3. ใช้รูปวรรณยุกต์เพื่อเพิ่มคำเพิ่มความหมาย เช่น นอง น่อง น้อง 
         4. พยัญชนะไทยมี 44 รูป โดยเพิ่มจากภาษาบาลี สันสกฤต 9 รูป ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ ฮ คำที่ใช้รูปพยัญชนะเหล่านี้จึงมักเป็นคำไทย ยกเว้น ฎ จะใช้แทน ฏ ในคำที่รับมาจากภาษาบาลีสันสกฤต 
         5. รูปพยัญชนะต่อไปนี้ จะไม่ค่อยมีใช้ในคำไทยแท้ คือ ฆ ฌ ญ ฏ ฐ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ ยกเว้น ฆ้อง ฆ่า เฆี่ยน ระฆัง ศอก ศึก เศิก ธ เธอ ณ ฯพณฯ หญ้า หญิง ใหญ่ 
         6. คำไทยแท้ที่ออกเสียง ไอ จะใช้เฉพาะไม้ม้วน 20 คำ และไม้มลายเท่านั้น

ข้าพเจ้าขอเพิ่มเติมอีกนิดว่า  พยัญชนะไทย มี 44 รูป แต่มีเพียง 28 เสียง  สระภาษาไทยมี 21 รูป 32 เสียง  สระแท้มี 18 เสียง สระผสมมี 6 เสียง  ส่วนสระเกิน มี 8 เสียง

คำราชาศัพท์ในหมวดต่างๆ


คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เสื้อ

รองท้า

ของเสวย

ที่นอน

ม่าน, มุ้ง

ถาดน้ำชา

คนโทน้ำ

ผ้าอาบน้ำ

ปืน

เข็มขัด


ประตู

เตียงนอน

ผ้าเช็ดตัว
ฉลองพระองค์

ฉลองพระบาท

เครื่อง

พระยี่ภู่

พระวิสูตร พระสูตร

ถาดพระสุธารส

พระสุวรรณภิงคาร

พระภูษาชุบสรง

พระแสงปืน

รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง

พระทวาร

พระแท่นบรรทม

ซับพระองค์ 
ผ้าเช็ดหน้า

กระจกส่อง

ข้าว


น้ำกิน

ตุ้มหู

ช้อน

ช้อนส้อม

ปิ่น

ไม้เท้า

หมาก

น้ำชา

เหล้า

กางเกง
ซับพระพักตร์

พระฉาย

พระกระยาเสวย( พระมหากษัตริย์ )

พระสุธารส

พระกุณฑลพาน

ฉลองพระหัตถ์

ฉลองพระหัตถ์ส้อม

พระจุฑามณี

ธารพระกร

พานพระศรี

พระสุธารสชา

น้ำจัณฑ์

พระสนับเพลา พระที่ (ราชวงศ์)



คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย

ร่างกาย -- คำราชาศัพท์
ร่างกาย -- คำราชาศัพท์
ผม -- พระเกศา
ไหปลาร้า -- พระรากขวัญ
หน้าผาก -- พระนลาฎ
ท้อง -- พระอุทร
หลัง -- พระขนอง
นิ้วมือ -- พระองคุลี
บ่า -- พระอังสะ
จุก -- พระโมฬี
นม -- พระถัน, พระเต้า
นิ้วชี้ -- พระดรรชนี
จมูก -- พระนาสิก
ฟัน -- พระทนต์
อก -- พระอุระ, พระทรวง
หู -- พระกรรณ
เอว -- บั้นพระองค์, พระกฤษฎี
ลิ้น -- พระชิวหา
ผิวหนัง -- พระฉวี
ข้อเท้า -- ข้อพระบาท
ปอด -- พระปับผาสะ
ปาก -- พระโอษฐ์
คาง -- พระหนุ
รักแร้ -- พระกัจฉะ
ดวงหน้า -- พระพักตร์
ผิวหน้า -- พระราศี 
ลิ้นไก่ -- มูลพระชิวหา
ไรฟัน -- ไรพระทนต์
ตะโพก -- พระโสณี
แข้ง -- พระชงฆ์
นิ้วก้อย -- พระกนิษฐา
คอ -- พระศอ
เนื้อ -- พระมังสา
เหงื่อ -- พระเสโท
ปัสสาวะ -- พระบังคนเบา
สะดือ -- พระนาภี
อุจจาระ -- พระบังคนหนัก
ขน -- พระโลมา
เถ้ากระดูก -- พระอังคาร
น้ำลาย -- พระเขฬะ
ข้อมือ -- ข้อพระหัตถ์
คิ้ว -- พระขนง
น้ำตา -- น้ำพระเนตร,
ต้นขา -- พระอุรุ พระอัสสุชล
หัวเข่า -- พระชานุ
ต้นแขน -- พระพาหุ
ขนระหว่างคิ้ว -- พระอุณาโลม
เงา -- พระฉายา
จอนหู -- พระกรรเจียก



คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
พ่อ
พระชนก พระบิดา 
แม่
พระชนนี,พระมารดา 
ปู่, ตา
พระอัยกาพระอัยกี 
ย่า, ยาย
พระอัยยิกา 
ลุง
พระปิตุลา 
ป้า
พระปิตุจฉา 
พี่ชาย
พระเชษฐา 
พี่สาว
พระเชษฐภคินี 
น้องชาย
พระอนุชา 
ลูกสะใภ้
พระสุณิสา 
พ่อผัว, พ่อตา
พระสัสสุระ 
พี่เขย, น้องเขย
พระเทวัน 
ผัว
พระสวามี 
ลูกเขย
พระชามาดา 

คําราชาศัพท์หมวดคำกิริยา
 คำศัพท์
คำราชาศัพท์
คำศัพท์
คำราชาศัพท์
ถาม
พระราชปุจฉา
ดู  
ทอดพระเนตร
ทักทายปราศรัย
พระราชปฏิสันถาร
ให้
พระราชทาน
ไปเที่ยว
เสด็จประพาส
อยากได้ 
ต้องพระราชประสงค์
ทาเครื่องหอม
ทรงพระสำอาง
เขียนจดหมาย 
พระราชหัตถเลขา
ไหว้
ถวายบังคม
แต่งตัว 
ทรงเครื่อง
อาบน้ำ
สรงน้ำ
มีครรภ์ 
ทรงพระครรภ์
ตัดสิน
พระบรมราชวินิจฉัย
หัวเราะ 
ทรงพระสรวล
นอน
บรรทม
รับประทาน 
เสวย
นั่ง
ประทับ
ป่วย
ประชวร
ไป
เสด็จ
ชอบ
โปรด


คําราชาศัพท์หมวดสรรพนาม 
คำที่ใช้แทน
คำราชาศัพท์ 
ใช้กับ
แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1)
ข้าพระพุทธเจ้า 
กระผม, ดิฉัน 
พระมหากษัตริย์
ผู้ใหญ่, พระสงฆ์
แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2)
ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท 
ใต้ฝ่าละอองพระบาท
พระมหากษัตริย์
พระบรมราชินี
พระบรมราชนนี
พระบรมโอสรสาธิราช
พระบรมราชกุมารี
แทนชื่อที่พูดด้วย
ฝ่าพระบาท 
เจ้านายชั้นสูง
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณเจ้า 
พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณท่าน 
พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระเดชพระคุณ 
เจ้านาย, หรือพระภิกษุที่นับถือ
แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3)
พระองค์ 
พระราชา, พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่
แทนผู้ที่พูดถึง
ท่าน  
เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ, ผู้ใหญ่ที่นับถือ
คําราชาศัพท์หมวดพระสงฆ์
 คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
สรงน้ำ
อาบน้ำ  
จังหัน
อาหาร 
คำสอน(พระสังฆราช)
พระโอวาท 
คำสั่ง(พระสังฆราช)
พระบัญชา 
จำวัด
นอน
ฉัน
รับประทาน
ธรรมาสน์(พระสังฆราช)
พระแท่น
จดหมาย(พระสังฆราช)
พระสมณสาสน์
นิมนต์
เชิญ
อาพาธ
ป่วย
ที่นั่ง
อาสนะ
จดหมาย
ลิขิต
ปัจจัย
เงิน
ปลงผม
โกนผม
เรือนที่พักในวัด
กุฏิ
ห้องอาบน้ำ
ห้องสรงน้ำ
ประเคน
ถวาย
เพล
เวลาฉันอาหารกลางวัน
ห้องสุขา
ถาน,เวจกุฎี
อาหาร
ภัตตาหาร
มรณภาพ
ตาย
ประเคน
ถวาย
คำแจ้งถวายจตุปัจจัย
ใบปวารณา
อาหารถวายพระด้วยสลาก
สลากภัต
อังคาด
เลี้ยงพระ
ลิขิต
จดหมาย
สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย
เสนาสนะ
เครื่องนุ่งห่ม
ไตรจีวร
ยารักษาโรค
คิลานเภสัช
คนรู้จัก
อุบาสก,อุบาสิกา
รูป
ลักษณนามสำหรัพระภิกษุ
องค์
ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป

คำที่มีความหมายเหมือนกัน

๑. พระจันทร์ =รัชนีกร /แข/ บุหลัน/ นิศากร/ ศศิธร
๒. พระอาทิตย์ =ทินกร /ประภากร/ ทิวากร/ ตะวัน/ สุริยา
๓. ทองคำ =สุวรรณ /เหม/ กนก/ มาศ/ อุไร
๔. ป่า =ไพร /พง/ ดง/ อารัญ/ พนา
๕. เมือง =บุรี /ธานี/ นคร/ ปุระ/ กรุง
๖. ผู้หญิง =สตรี /อิตถี/ นารี/ กามินี/ พธู
๗. ดอกไม้ =บุปผา /บุษบา/ โกสุม/ มาลี/ ผกา
๘. พระเจ้าแผ่นดิน= ราชา/ ภูมี/ นฤบดี/ นราธิป/ นฤบาล
๙. ภูเขา =คีรี /สิงขร/ บรรพต/ ไศล/ ศิขรินทร์
๑๐. นักบวช =มุนี /ฤษี/ ดาบส/ นักพรต/ นักสิทธิ์
๑๑. น้ำ =อาโป /อุทก/ วารี/ ชล/ คงคา
๑๒. ไฟ =อัคคี /เตโช/ เพลิง/ อัคนี/ บาพก
๑๓. ช้าง =ไอยรา/ ดำรี/ กุญชร/ สาร/ คช
๑๔. แผ่นดิน =ภูมิ/ ธรณี/ ปฐพี/ ธาตรี/ ธรา
๑๕. ท้องฟ้า =นภา/ เวหา/ อัมพร/ ทิฆัมพร/ คัคนานต์
๑๖. นก =สกุณา/ ปักษา/ สุโนก/ วิหค/ ทิชากร
๑๗. ม้า =พาชี/ ดุรงค์/ หัย/ สินธพ/ อัศวะ
๑๘. งู =อุรค/ ภุชงค์/ ผณี/ ทีฆชาติ/ นาคา
๑๙. ยักษ์ =อสูร/ รากษส/ แทตย์/ ทานพ/ มาร
๒๐. เทวดา =อมร/ เทพ/ สุร/ เทพยดา/ นิรชร
๒๑. นางฟ้า =อัจฉรา/ อัปสร/ รัมภา/ เทพธิดา/ เทวี
๒๒. เด็ก =พาล/ ทารก/ ดรุณ/ กุมาร/ ศิศุ
๒๓. ต้นไม้ =พฤกษ์/ รุกข์/ ตรุ/ เฌอ/ ทุม
๒๔. พ่อ =บิดา/ ชนก/ บิตุรงค์/ บิดร/ ปิตุ
๒๕. แม่ =มารดา/ ชนนี/ ชเนตตี/ นนทลี/ มาตุ
๒๖. สวยงาม =ประไพ/ อำไพ/ วิลาวัณย์/ วิไล/ โสภา
๒๗. ข้าศึก =ริปู / ปัจนึก/ ศัตรู/ ปรปักษ์/ บร
๒๘. พระอินทร์ =โกสีย์/ สักกะ/ อมรินทร์/ สหัสนัยน์/ สุชัมบดี
๒๙. ตาย =อาสัญ/ บรรลัย/ มรณา/ ตักษัย /วายชนม์
๓๐. ใจ =กมล/ หทัย/ ฤดี /ฤทัย /แด

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

นิทานเรื่องหนูดีแม่ครัวมือใหม่














ตารางเปรียบเทียบภาษาบาลี – สันสกฤต


ตารางเปรียบเทียบภาษาบาลี – สันสกฤต
ภาษาบาลี
ภาษาสันสกฤต
1. สระมี 8 ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ
1. สระมี 14 ตัว  เพิ่มจากบาลี 6 ตัว  คือ  ฤ  ฤๅ  ฦ  ฦๅ  ไอ  เอา  (แสดงว่าคำที่มีสระ 6 ตัวนี้จะเป็นบาลีไม่ได้เด็ดขาด)
2. มีพยัญชนะ  33 ตัว  (พยัญชนะวรรค)
2. มีพยัญชนะ 35 ตัว  เพิ่มจากภาษาบาลี 2 ตัว  คือ  ศ ษ  (แสดงว่าคำที่มี  ศ ษ  เป็นภาษาสันสกฤต  *ยกเว้น  ศอก  ศึก  เศิก  โศก  เศร้า  เป็นภาษาไทยแท้)
3. มีตัวสะกดตัวตามแน่นอน  เช่น  กัญญา  จักขุ  ทักขิณะ  ปุจฉา  อัณณพ  คัมภีร์  เป็นต้น
3. มีตัวสะกดและตัวตามไม่แน่นอน  เช่น  กันยา  จักษุ  ทักษิณ  ปฤจฉา  วิทยุ  อัธยาศัย  เป็นต้น
4. นิยมใช้  ฬ  เช่น  กีฬา  จุฬา  ครุฬ  เป็นต้น  (จำว่า กีฬา-บาลี)
4. นิยมใช้  ฑ  เช่น  กรีฑา  จุฑา  ครุฑ  (จำว่า  กรีฑา-สันสกฤต)
5. ไม่นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น  ปฐม  มัจฉา  สามี  มิต  ฐาน  ปทุม  ถาวร  เปม  กิริยา  เป็นต้น
5. นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น ประถม มัตสยา สวามี  มิตร  สถาน  ประทุม  สถาวร  เปรม  กริยา  เป็นต้น
6. นิยมใช้  "ริ"  เช่น  ภริยา  จริยา  อัจฉริยะ  เป็นต้น
6. นิยมใช้  รร  (รอหัน)  เช่น  ภรรยา  จรรยา  อัศจรรย์  เป็นต้น
เนื่องจากแผลงมาจาก  รฺ  (ร เรผะ)  เช่น  วรฺณ = วรรณ
ธรฺม = ธรรม    * ยกเว้น  บรร  เป็นคำเขมร
7.  นิยมใช้ ณ นำหน้าวรรค ฏะ  เช่น  มณฑล  ภัณฑ์
หรือ  ณ  นำหน้า ห  เช่น  กัณหา  ตัณหา
7. นิยม  "เคราะห์"  เช่น  วิเคราะห์  สังเคราะห์  อนุเคราะห์  เป็นต้น
เรื่องน่ารู้
  1. ถ้าพยัญชนะ "ส" นำหน้า วรรค ตะ   คำนั้นจะมาจากภาษาสันสกฤต  เช่น  สถาพร  สถาน  สถิต  เป็นต้น
  2. พยัญชนะเศษวรรคในภาษาบาลีที่ใช้เป็นตัวสะกดได้  มี  5  ตัว  คือ  ย  ล  ว  ส  ฬ  เช่น  อัยยิกา  คุยห  มัลลิกา  กัลยาณ  ชิวหา  อาสาฬห  ภัสตา  มัสสุ  เป็นต้น
  3. พยัญชนะเศษวรรคในภาษาสันสกฤตคล้ายภาษาบาลี  แต่มีตัวสะกดเพิ่ม  อีก 2 ตัว  คือ  ศ ษ เช่น  ราษฎร  ทฤษฎี  พฤศจิกายน  เป็นต้น
ข้อควรจำ  ถ้าคำใดมีตัวอักษรซ้ำกัน  เป็นคำภาษาบาลีแน่นอน  เช่น  ปัญญา อัคคี นิพพาน เมตตา บัลลังก์ ฯลฯ

ตัวอย่างคำไทยที่มักเขียนผิด

คำที่เขียนถูก                                                                                     คำที่มักเขียนผิด




กงสุล
กงศุล
กฎเกณฑ์
กฏเกณฑ์
ก้นปล่อง
ก้นป่อง
กัณฐ์(คอ)
กันฑ์
กรรณ์(หู)
กัณฐ์
กระตือรือร้น
กระตือรือล้น
กระทะ
กะทะ
กระเท่เร่
กะเท่เร่
กล้วยบวชชี
กล้วยบวดชี
กษัตริย์
กษัตรย์
ก๊อป X 
ก็อป X 
กะทัดรัด
กระทัดรัด
กะทันหัน
กระทันหัน
กะทิ
กระทิ
กะละมัง
กาละมัง
กะเพรา
กระเพรา
กะโหลก
กระโหลก
กังวล
กังวน
กังวาน
กังวาล
กัมปนาท
กำปนาท
กากบาท
กากบาด
กาเฟอีน
คาเฟอีน
การุญ ,การุณย์
การุณ
กาแล็กซี
กาแล็กซี่
กำนัน(ผู้ดูแล)
กำนัล
กำนัล(ให้ของด้วยความนับถือ)
กำนัน
กิจจะลักษณะ
กิจลักษณะ
กำมะลอ
กัมมะลอ
กำมะหยี่
กัมมะหยี
กำราบ
กำหราบ
กิตติคุณ
กิติคุณ
กิตติมศักดิ์
กิติมาศักดิ์
กินรี
กินนรี
กุยช่าย
กุยไช่
เกณฑ์ทหาร
เกนทหาร
เกม
เกมส์
เกร็ดความรู้
เกล็ดความรู้
เกล็ดปลา
เกร็ดปลา
เกลือสินเธาว์
เกลือสินเธา
เกษมศานต์
เกษมสานต์
เกษมสันต์
เกษมสันติ์
เกษียณอายุ
เกษียนอายุ
เกษียรสมุทร
เกษียณสมุทร
เกสร
เกษร
แก๊ง
แก็ง
แกงบวด
แกงบวช
แก๊ส
แก๊ซ



ขมีขมัน
ขะมีขมัน
ขมุกขมัว
ขะมุกขมัว
ขวนขวาย
ขนขวาย
ขะมักเขม้น
ขมักเขม้น
ขะมุกขะมอม
ขมุกขมอม
ขันที
ขันฑี
ขู่เข็ญ
ขู่เข็น
เขม็ดแขม่
ขะเม็ดแขม่
โขยง
ขโยง
โขยกเขยก
ขโยกเขยก
ไข่มุก
ไข่มุข

คทา
คฑา
คนธรรพ์
คนธรรม์
คมสัน
คมสันต์
คริสต์ศักราช
คริสตศักราช
ครุภัณฑ์
คุรุภัณฑ์
คฤหาสน์
คฤหาส
คลาคล่ำ
คราคร่ำ
คลินิก
คลีนิก
ค็อกเทล
ค๊อกเทล
คอมมิวนิสต์
คอมมิวนิส
คะมำ
คมำ
คะยั้นคะยอ
ขยั้นขยอ
คอนเสิร์ต
คอนเสริต
คัมภีร์
คำภีร์
คารวะ
คาราวะ
คำนวณ
คำนวน